การพัฒนาสายพันธุ์แมลงวันผลไม้เพื่อใช้ในการจำแนกแมลงที่เป็นหมัน

ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Artboard 1 copy 3 (1)

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

หมายเหตุ : STKC ขอนำเสนอบทคัดย่อของบทความที่เสนอในการประชุม วทน. 12 รวม 50 เรื่อง

อันอาจเป็นประโยชน์ต่อกิจการสำหรับผู้สนใจ

 

การพัฒนาแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวที่ได้จากการแชไในน้ำร้อนเพื่อใช้ในการตรวจสอบติดตามแมลงที่เป็นหมัน เป็นการพัฒนาเพื่อใช้ประเมินความสำเร็จขอการควบคุมแมลงวันผลไม้โดยใช้แมลงที่เป็นหมันจากรังสี การทดลองนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาผลของการเพาะเลี้ยงจำนวนมากต่อคุณภาพของแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวประสิทธิภาพในการควบคุมประชากรแมลงในธรรมชาติ และประสิทธิภาพในการจำแนกแมลงที่เป็นหมันออกจากแมลงในธรรมชาติ ผลการทดลองพบว่า เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมากโดยวิธีการมาตรฐาน จำนวนดักแต้ที่ได้ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับแมลงสายพันธุ์ปกติ แต่คุณภาพของแมลงดีขึ้น การปล่อยแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวที่เป็นหมันร่วมกับวิธีการอื่น ควบคุมแมลงวันผลไม้ในตำบลตรอกนอง อำเภอขถุง จังหวัดจันทบุรี พบว่าจำนวนแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ลดลง 96.02 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการควบคุมแมลง และการใช้แมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังชาวในการตรวจสอบติดตามประชากรแมลง พบว่ามีความถูกต้องในการจำแนกแมลงที่เป็นหมันออกจากแมลงในธรรมชาติมากกว่อย่างมีนัยสำคัญ ใช้เวลา และต้นทุนวัสดุน้อยกว่าวิธีการทำเครื่องหมายดักแด้ด้วยผงสีสะท้อนแสงคำสำคัญ : แมลงวันผลไม้ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน แมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาว

 

A white-striped oriental fruit fly strain, derived from hot-water treated eggs, was developed for sterile fly detection. It was applied to evaluate the effectiveness of fruit fly population control by releasing the radiation-induced sterile flies. The objectives of this reported set of experiments were to study the effects of mass rearing on the quality of white-striped oriental fruit flies.

the effectiveness of controlling the wild fly population and the accuracy of detection of the released white-striped flies. It was found that mass rearing decreased the pupal yield but increased the pupal quality of white-striped flies comparing with normal flies. Controlling the wild fruit fly population by releasing sterile white-striped flies integrated with other control methods at

Tambon Trok Nong, Amphoe Khlung, Chanthaburi Province, could suppress the wild fruit fly population by 96.02 %. The use of white-striped oriental fruit flies yielded a higher detection accuracy upon releasing and reduced the operating time and costs when compared with the use of fluorescent dye marking approach.Keywords: fruit fly, sterile insect technique, white-striped oriental fruit fly

 

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบ

Only administrators can add new users.

เข้าสู่ระบบ