แสนสุข เวชชการัณย์
ศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ก็คล้ายกับทุกสิ่งบนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตที่ต้อง เผชิญกับสภาพที่เสื่อมถอยลงไปตามกาลเวลา ในขณะสิ่งมีชีวิตหรือเครื่องจักรกลมีอายุมากขึ้น การท างานของอวัยวะ หรือ ส่วนประกอบต่างๆในระบบจะเริ่มช้าและเสื่อมลง เราจึงต้องมีการดูแล บ ารุงรักษา หรือบางครั้งอาจต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ เสื่อมสภาพออก และใส่ชิ้นส่วนใหม่เข้าไปทดแทนเพื่อให้ระบบสามารถท างานได้ต่อไป ซึ่งการจัดการกับความเสื่อมสภาพของ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน หากจะมีข้อแตกต่างเพียงแค่การจัดการความเสื่อมของเครื่องปฏิกรณ์ฯนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดการให้เป็นระบบ เนื่องจากความซับซ้อนของระบบเครื่องปฏิกรณ์ฯที่มีมากกว่าระบบเครื่องจักรกลทั่วไป แต่โดยพื้นฐานแนวคิดแล้วจะมีความคล้ายคลึงกัน
ในปัจจุบัน แม้ว่าจ านวนเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยที่ยังด าเนินการอยู่ทั่วโลกจะมีปริมาณลดลง แต่อายุเฉลี่ยของเครื่อง ปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยทั้งหมดกลับเพิ่มมากขึ้น กว่า 2 ใน 3 ของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยที่ยังด าเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีอายุ มากกว่า 30 ปีแล้ว ดังนั้น การจัดการกับความเสื่อมสภาพของระบบเครื่องปฏิกรณ์ฯ จึงเป็นสิ่งส าคัญ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ สาธารณชนว่าเครื่องปฏิกรณ์ฯ จะยังคงสามารถด าเนินการได้อย่างปลอดภัย
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยแต่ละเครื่องนั้นจะมีอายุการใช้งานได้นานเท่าใด ซึ่งในความเป็น จริงแล้วผู้เชี่ยวชาญจากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อายุการใช้งานของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เครื่องหนึ่งสามารถพิจารณาได้จากความจ าเป็นในการใช้ประโยชน์ของเครื่องปฏิกรณ์ฯนั้น และการจัดการให้ตัวระบบของเครื่อง ปฏิกรณ์ฯเองมีความสอดคล้องกับข้อก าหนดด้านความปลอดภัยในการด าเนินงานตามกฎหมายและข้อก าหนดของแต่ละประเทศ รวมไปถึงสอดคล้องกับมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งอุปกรณ์และระบบส่วนใหญ่ของเครื่องปฏิกรณ์ ปรมาณูวิจัยมีความเป็นไปได้ที่จะท าการเปลี่ยน หรือปรับปรุงให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับข้อก าหนดที่เพิ่มขึ้น อันเป็นปัจจัย ที่ท าให้สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยให้ยาวนานขึ้นได้
ความเสื่อมสภาพของระบบเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ความเสื่อมทางกายภาพ ซึ่ง เป็นความถดถอยทางกายภาพของตัวระบบเอง เช่น การสึกหรอของท่อ ปั๊มน้ า หรือการเสื่อมสภาพของโลหะและคอนกรีต และ 2) ความล้าสมัยของระบบและอุปกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบวัดและควบคุม และ ข้อก าหนดต่างๆ ทั้งนี้การจัดการกับความเสื่อมประเภทที่ 1 ท าได้โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ ในขณะ ที่การจัดการกับความเสื่อมประเภทที่ 2 ท าได้โดยการปรับปรุงระบบหรือแนวปฏิบัติให้มีความทันสมัย
ส าหรับโครงการการจัดการความเสื่อมของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ เริ่มท าตั้งแต่ขั้นตอนการ ออกแบบระบบ การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างหรือผลิต การจัดสร้างโปรแกรมในการตรวจสอบสภาพระบบและวางแผนในการ เปลี่ยนอุปกรณ์ตามระยะเวลา โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นการท างานเชิงรุกเพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจน าไปสู่การหยุด ด าเนินการโดยไม่คาดหมายของเครื่องปฏิกรณ์ฯ ทั้งนี้การจัดการป้องกันความเสื่อมสภาพเชิงรุกยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้
สาธารณชนและผู้ปฏิบัติงานว่าเครื่องปฏิกรณ์ฯ สามารถด าเนินงานได้อย่างปลอดภัยต่อทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน สาธารณชน และ สิ่งแวดล้อม
ส าหรับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว.-1/1 นั้น ได้มีโครงการจัดการความเสื่อมของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว.-1/1 ซึ่งได้ด าเนินงานมาตลอดระยะเวลาในการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯ ผ่านกระบวนการตรวจสอบระบบตามระยะ เช่น การตรวจสอบ อุปกรณ์ของระบบน้ าฉุกเฉินส าหรับเครื่องปฏิกรณ์ การเปลี่ยนอุปกรณ์ทดแทนที่มีความเสื่อมตามระยะเวลา เช่น การเปลี่ยน อุปกรณ์ระบบน้ าหล่อเย็นทุติยภูมิของเครื่องปฏิกรณ์ฯ หรือ การปรับปรุงระบบวัดและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯ รวมถึงการปรับปรุง กระบวนการปฏิบัติงานอันเกี่ยวเนื่องกับเครื่องปฏิกรณ์ฯ ให้มีความทันสมัย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ สทน. ได้ด าเนินการเพื่อสร้างความ มั่นใจให้ทุกภาคส่วนว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว.-1/1 สามารถด าเนินการได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานของประเทศและ มาตรฐานสากล
การตรวจสอบถังแรงดันน้ำโดยแผงควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯปปว.-1/1 (เก่า) แผงควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯ ปปว.-1/1 (ใหม่) วิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย
เอกสารอ้างอิง
- Joanne Liou, Managing ageing research reactors to ensure safe, effective operations, IAEA Bulletin, Research Reactor, IAEA, Vienna, November, 2019.
- International Atomic Energy Agency, Ageing Management for Research Reactors, IAEA Safety Standard, Specific Safety Guide No. SSG-10, IAEA, Vienna, 2010.