รังสีเอกซ์ (x-rays)

ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Artboard 1 (4)

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง เป็นรังสีแบบเดียวกับรังสีแกมมา แต่ตามปกติจะมีระดับพลังงานต่ำกว่ารังสีแกมมา และที่แตกต่างกันอีกประการหนึ่งก็คือ รังสีเอกซ์ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ การเกิดในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่ารังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic x-rays) หรืออีกลักษณะหนึ่งเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิดด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง เช่น ทังสเตน ทำให้อิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา เรียกรังสีเอกซ์ที่เกิดในลักษณะนี้ว่ารังสีเอกซ์เบรมส์ชตราลุง (bremsstrahlung) โดยทั่วไปรังสีเอกซ์มีระดับพลังงานในช่วง 100 อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) ถึง 100 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) หรือความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ในการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ หรืออุปกรณ์ด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์ สามารถผลิตรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานสูงกว่านี้ คือได้ถึง 10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) รังสีเอกซ์เป็นที่รู้จักทั่วไปจากการเอกซเรย์ทรวงอก แต่ในปัจจุบันมีการใช้รังสีเอกซ์อย่างกว้างขวางมาก ยกตัวอย่างเฉพาะในทางการแพทย์ เช่น การเอกซเรย์ฟัน การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (computed tomography หรือ CT) ของร่างกายหรือบางส่วนของร่างกายเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ ผู้รับบริการทางการแพทย์เหล่านี้ได้รับรังสีต่อครั้งในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งการควบคุมการได้รับปริมาณรังสียังผล (effective dose) ไม่ให้เกิน 10 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี จัดว่าอยู่ในระดับปลอดภัย นอกเหนือจากทางการแพทย์ก็ยังมีการใช้รังสีเอกซ์ในทางอื่นอีก เช่น ผลิกศาสตร์ ดาราศาสตร์ การวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบของสารตัวอย่าง การตรวจอายุภาพจิตรกรรมจากสีจาดตะกั่วขาว (white lead)

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบ

Only administrators can add new users.

เข้าสู่ระบบ