การใช้หุ่นยนต์ในการรื้อถอนสถานประกอบการทางนิวเคลียร์1 (ตอนที่ 1)

ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Artboard 2 copy 2

จากข้อมูลทางสถิติ2 พบว่า ในระยะเวลาอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า จะมีสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ทั้งโลกที่ครบอายุใช้งานและต้องมีการรื้อถอนเป็นจํานวนหลายร้อยแห่ง เช่น ทั้งในส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เรือดําน้ําพลังงานนิวเคลียร์ หรือโรงงานผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
การรื้อถอน (Decommissioning) ดังกล่าวมีขั้นตอนในการดําเนินงานที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามความซับซ้อนในการปฏิบัติการรื้อถอนสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เกิดจากการยังต้องปฏิบัติงานในบริเวณรังสี ดังนั้นหากต้องใช้มนุษย์ในการปฏิบัติการจะต้องมีการคํานึงถึงปริมาณรังสีที่ได้รับไม่ให้เกิน 20 ไมโครซีเวิร์ดต่อปีในระยะเวลาเฉลี่ย 5 ปี โดยไม่มีปีใดได้รับรังสีเกิน 50 ไมโครซีเวิร์ดต่อปี ซึ่งหากได้รับปริมาณรังสีเกินค่าความปลอดภัยดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานต้องหยุดปฏิบัติงานทันที ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องใช้เวลาปฏิบัติงานให้สั้นที่สุดแต่มีประสิทธิภาพสูงสุด การนําหุ่นยนต์มาใช้ในงาน Decommissioning จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันหุ่นยนต์ที่ใช้ในการ Decommissioning ใช้ระบบรีโมทคอนโครล, การสั่งงานในระยะไกล โดยอาจมีการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสถานประกอบการแต่ละแห่ง เช่น หุ่นยนต์รื้อถอนที่ WindscaleAdvanced Gas Cooled Reactor (WAGR) ซึ่งใน radiator vessel ของเครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าววัดปริมาณรังสีได้ 1Sv/hr ซึ่งในอัตราปริมาณรังสีดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับปริมาณรังสีที่ขีดจํากัดที่จะได้รับได้ต่อปี(20mSv) ในเวลาเพียง 20 ชั่วโมง หุ่นยนต์ที่ใช้ในการปฏิบัติการกับreactor vessel ออกแบบมาให้ในส่วนปลายของหุ่นยนต์สามารถหมุนได้ใน 6 ทิศทาง กากกัมมันตรังสีใน vessel จะถูกนําออกไปจากvessel โดยเครนยกขึ้นด้านบนและส่งส่งลงมาที่ถังคอนกรีตด้านล่างเพื่อนําไปสู่กระบวนการจัดการกากกัมมันตรังสี ในปฏิบัติการดังกล่าวสามารถรักษาระดับการได้รับรังสีของผู้ปฏิบัติงานไว้ได้ที่ระดับ 17mSv ต่อคน ต่อปีเป็นระยะเวลา 6 ปี ตลอดโครงการ เมื่อสิ้นสุโครงการสามารถจัดการกากกัมมันตรังสีระดับต่ําประมาณ 22 ตันและ กากกัมมันตรังสีความแรงระดับปานกลาง ประมาณ 10 ตัน โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณทั้งสิ้น 80ล้านปอนด์ โดยเป็นในส่วนของหุ่นยนต์ 8 ล้านปอนด์นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในการใช้หุ่นยนต์ในการรื้อถอนสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ในตอนที่ 2 เราจะไปดูอีก 2 ตัวอย่างของการใช้หุ่นยนต์ในปฏิบัติการดังกล่าวในอีก 2 สถานประกอบการ

 

 

 

อ้างอิง

1.https://www.researchgate.net/publication/228663007_The_Use_of_Robotics_and_Automation_in_Nuclear_De
commissioning
2.State of the Art Technology for Decontamination and Dismantling of Nuclear facilities, IAEA Tech. rep. 395,
1999

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบ

Only administrators can add new users.

เข้าสู่ระบบ