การผลิตไอโซโทปรังสีมีอนาคต

ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Artboard 1 copy 5 (2)

โกมล อังกุรรัตน์
ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

หากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จะมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องใหม่พร้อมด้วยห้องปฏิบัติการผลิตไอโซโทปรังสีในอนาคตแล้ว สารไอโซโทปรังสีที่คาดการณ์ว่าควรจะดำเนินการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของโรงพยาบาลและสถาบันต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น พอจะแบ่งกลุ่มได้เป็น 3 ประเภทการใช้งาน คือ

1) สารไอโซโทปรังสีที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรค (radioisotope for therapy)
2) สารไอโซโทปรังสีที่ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค (radioisotope for diagnosis)
3) ผลิตภัณฑ์ไอโซโทปรังสีที่ใช้งานทางด้านเทคนิคอื่น ๆ (technical products)

1. สารไอโซโทปรังสีที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษา (radioisotope for therapy) ดังเช่น

1.1 ไอโอดีน-131 (I-131) ที่ใช้ได้ทั้งในรูปแบบของสารละลายและรูปแบบของแคปซูล นอกจากนั้นที่มีแนวโน้มใช้มากขึ้นก็คือสารประกอบติดฉลากของ 131I-MIBG (metaiodobenzylquanidine) ซึ่งใช้ได้ทั้งรักษาและวินิจฉัยโรคแล้วแต่ระดับความแรงรังสีที่ใช้งานทางด้านวินิจฉัยโรคอื่น ๆ เช่น 131I-Hippuran ก็ยังมีความต้องการอยู่

1.2 ไอโซโทปรังสีชนิดต่าง ๆ ที่ให้รังสีบีตา (different β-emitters) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและยังจะใช้อีกต่อไปในอนาคต เช่น สารเภสัชภัณฑ์รังสีของ 153Sm (153Sm radiopharmaceutical) ในปัจจุบันสารประกอบเชิงซ้อนของ 153Sm ในรูปของ 153Sm EDTMP ใช้บรรเทาอาการปวดของมะเร็งที่แพร่มายังกระดูก ส่วน 153Sm-HA ใช้รักษาอาการปวดของโรคข้อรูมาทอยด์ ในอดีตนั้นก็จะใช้พวก 89Sr หรือ 186Re 188Re

สารไอโซโทปรังสีอีกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มใช้มากก็คือ 90y โดยใช้รูปแบบของสารประกอบติดฉลากของ 90Y-biological compounds โดยเตรียมในรูปแบบคอลลอยด์ของ 90Y-colloid เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคข้ออักเสบ (treatment of arthritis) นอกจากนั้นสารประกอบ colloids ของไอโซโทปรังสี เช่น 186Re 32153Sm 166Ho และ 169Er ก็นำมาใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบได้เช่นกัน

ส่วนการผลิต 90Y ก็อาจจะผลิตได้ในรูปแบบของ generator ชนิดพิเศษของ 90Sr/90Y-generators สำหรับ 186 Re 32153Sm 166Ho และ 169Er ก็สามารถผลิตได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์โดยวิธีการของ n, gamma-activation

สำหรับ Re แล้วก็ยังมี 188Re ซึ่งได้มาจาก 188W/188Re generator โดย 188W นั้นสามารถผลิตได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีความเข้มข้นนิวตรอน (นิวตรอนฟลักซ์) มากกว่า 1 x 1014 n/cm2.sec โดยใช้ enriched 186W มากกว่า 96 เปอร์เซ็นต์เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการ

ไอโซโทปรังสี 177Lu ก็เป็น β-emitters อีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากในปัจจุบันโดยเตรียมจากสารตั้งต้น 176Lu-enriched มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีการของ n, gamma-activation เช่นกัน 177Lu จึงเป็นสารไอโซโทปรังสีอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามไป

1.3 ไอโซโทปรังสีสำหรับรังสีรักษาระยะใกล้ (brachytherapy) ซึ่งในบ้านเราอาจจะยังไม่แพร่หลายมากนัก อาจจะเป็นเพราะบุคลากรทางด้านนี้ยังมีอยู่อย่างจำกัด ตัวอย่างไอโซโทปรังสีที่พอจะผลิตมาใช้ วิธีการทางด้านบำบัดรักษาโดยวิธี brachytherapy เช่น 188Re 192Ir 90Sr 125I หรือไอโซโทปรังสีชนิดอื่น ๆ แต่กระบวนการผลิตเพื่อใช้กับเทคนิควิธีการรักษาแบบนี้มีข้อจำกัด คือจะเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อนในกระบวนการผลิต เพราะต้องผลิตในรูปแบบของ scale source ต้องอาศัยเทคนิคการเชื่อมปิดสนิท โดยวิธีการของ laser welding และต้องมีการทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ผลิตและบุคลากรผู้ใช้งานของโรงพยาบาล เช่น แพทย์หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ
1.4 นอกจากนั้นก็ยังมีเทคนิคพิเศษอื่น ๆ ที่จะเตรียม 192Ir ในรูปแบบของ after loading sources เพื่อใช้ในการบำบัดรักษาเนื้อเยื่อเซลล์ที่เป็นมะเร็งจากภายนอก
1.5 ถ้าเป็นไปได้และไม่ควรมองข้ามก็ควรจะมีแผนรองรับเทคโนโลยีทางด้านการใช้สารไอโซโทปรังสี ที่ให้รังสีแอลฟา (alpha emitter for medical therapy) ไอโซโทปรังสีของ alpha emitter เช่น 225Ac 211At 212Bi 213Bi 223Ra และ 224Ra ใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคของพวกเชื้อรา แต่วิธีการผลิตสารไอโซโทปรังสีของ alpha emitter ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน อาจต้องใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีนิวตรอนฟลักซ์สูงหรืออาจผลิตด้วยเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน (cyclotron) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของสารตั้งต้นในการผลิตที่มีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้

2. สารไอโซโทปรังสีที่ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค (radioisotope for diagnosis)
2.1 ถ้าจัดอันดับแล้วสารไอโซโทปรังสีที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ที่ใช้ในการวินิจฉัยแล้วก็คงจะหนีไม่พ้น 99mTc ซึ่งอาจจะผลิตในรูปของ 99mTc-instant หรือในรูปของ 99mTc-sterile generator ซึ่งใช้งานอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันมากกว่า 99mTc-instant

การผลิต 99mTc–sterile generator นั้นจะตรียมมาจากไอโซโทปรังสีของ fission molybdenum (99Mo) ซึ่งเงื่อนไขของการผลิต generator ของ 99mTc ขึ้นอยู่กับว่าจะผลิต fission-99Mo ของตัวเองหรือซื้อ fission-99Mo มาจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศแอฟริกาใต้ แต่จากข้อมูลทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) พยายามส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีกระบวนการผลิต fission-99Mo ของตัวเอง โดยทบวงการฯ จะสนับสนุนทางด้านข้อมูล เทคนิคและสารตั้งต้นของ low enrichment 235U ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ บางส่วน ซึ่งสามารถผลิต fission-99Mo ขนาด small scale ได้ครั้งละประมาณ 1000 Ci 99Mo เมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิต ด้วยกำลังผลิตขนาดนี้สามารถจะนำมาผลิต generator ได้ทั้งหมดประมาณ 100 Ci ณ เวลาที่ปรับเทียบความแรงรังสีของ generator (calibration date) โดยประมาณ 6 วันหลังจากวันผลิต 99Mo

วิธีการอื่น ๆ ในการผลิต 99mTc ก็อาจจะใช้วิธีการของ MEK-extraction หรือผลิตในรูปแบบของ gel generator วิธีการของ gel generator เป็นทางเลือกทางหนึ่งในการผลิต 99mTc ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตหรือซื้อ fission-99Mo ได้เอง  แต่วิธีการของ gel generator ก็ยังมีข้อที่ต้องคำนึงถึงมากมาย เช่น ความสม่ำเสมอของการ elute 99mTc  ความเข้มข้นทางรังสีของ 99mTc ที่ได้ และเทคโนโลยีของ gel generator ก็ยังต้องมีการพัฒนาทางด้านเทคนิคเพิ่มเติม

2.2 ถ้ามีกระบวนการผลิต 99mTc ของที่ควบคู่กันก็ต้องมีการเตรียมการห้องปราศจากเชื้อ (clean room) เพื่อเป็นห้องผลิต radiopharmaceutical kitsหรือ cold kits ซึ่งจะเป็นส่วนที่สำคัญอันหนึ่งของกระบวนการ isotope production plant
2.3 สำหรับการใช้ประโยชน์ไอโซโทปรังสี สำหรับการวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน คือ 177Lu 186Re 188Re
2.4 ไอโซโทปรังสีสำหรับการวินิจฉัยโรคที่สำคัญที่ใช้กันแพร่หลายมากในปัจจุบันคือ สารไอโซโทปรังสีที่มีครึ่งอายุสั้นมาก ๆ และเป็นพวกให้โพซิตรอน (positron emitter thomography (PET)) ในกรณีนี้ ถ้าจะดำเนินการผลิต ก็ต้องอาศัยเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอนเป็นเครื่องผลิต ซึ่งต้องตั้งอยู่ในโรงพยาบาล หรืออยู่ใกล้ ๆ กันกับโรงพยาบาลที่ใช้

3. ผลิตภัณฑ์ไอโซโทปรังสีที่ใช้งานทางด้านเทคนิคอื่น ๆ (technical products)
3.1 กระบวนการผลิตต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก (sealed radiation sources) เช่น 192Ir หรือ 75Se สำหรับใช้กับ gamma-defectoscopy แต่ทั้งนี้จะดำเนินการผลิตได้ก็ต้องมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีจำนวนนิวตรอนฟลักซ์มากกว่า 1014 neutron/cm2.sec.
3.2 อีกส่วนหนึ่งถ้ามีกระบวนการผลิต sealed radiation sources แล้วก็ต้องคำนึงถึงการเตรียมการของระบบ hot cell เพื่อรองรับงานบริการสำหรับพวก sealed radiation sources ที่มีความแรงทางรังสีสูง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ซ่อมบำรุงต่าง ๆ และส่วนหนึ่งใช้สำหรับกระบวนการจัดการเกี่ยวกับสารตั้งต้นในการผลิต sealed radiation sources หลังจากผ่านการอาบนิวตรอนแล้ว
3.3 สารประกอบติดฉลากของ T (3H) 143235S ก็ควรคำนึงถึง เพื่อใช้ในงานวิจัยทางด้าน biological และ pharmaceutical ซึ่งการผลิต 3235S สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
3.4 สำหรับความต้องการทางด้านอื่น ๆ ต้องพิจารณาถึงความต้องการทางด้านงานวิจัย หรือการใช้งานของวงการอุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรมภายในประเทศ
ทั้งนี้ความเป็นจริงทั้งหลายจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีอุปกรณ์หลักในการผลิต เช่น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องใหม่หรือเครื่องเร่งอนุภาคไซโคลทรอน ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความเป็นจริงคงจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ ๆ นี้

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบ

Only administrators can add new users.

เข้าสู่ระบบ