แหล่งแร่ยูเรเนียม (Uranium Ores Deposits)

ข้อมูลจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Artboard 1 copy 8

พิพัฒน์ พิเชษฐพงษ์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งแร่ยูเรเนียม หมายถึง สินแร่ในธรรมชาติที่มียูเรเนียมมากพอสำหรับการสกัดแยกยูเรเนียมมาใช้ประโยชน์ได้อย่าง คุ้มค่า

ยูเรเนียมจัดเป็นธาตุที่มีอยูมากในเปลือกโลกธาตุหนึ่ง โดยพบว่าเปลือกโลกมีธาตุยูเรเนียมอยู่ประมาณ 2-3 ส่วนในล้าน ส่วน (ppm) หรือเปลือกโลก 1 ตันมียูเรเนียมอยู่ประมาณ 2-3 กรัม ซึ่งมีมากกว่าธาตุเงิน 40 เท่า และมีมากกว่าธาตุ ทองคำถึง 500 เท่า ประมาณว่าเปลือกโลกมียูเรเนียมมากถึง 1014 ตันทีเดียว เราสามารถพบยูเรเนียมได้ทั่วไป ทั้งใน ก้อนหิน พื้นดิน แม่น้ำ และมหาสมุทร ซึ่งพบว่าน้ำในมหาสมุทรมียูเรเนียมละลายอยู่ประมาณ 3 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) หรือมียูเรเนียมอยู่ในมหาสมุทรทั้งหมดประมาณ 4 พันล้านตัน

แร่ยูเรเนียมที่สำคัญมีพบอยู่หลายชนิด โดยมีการจัดแบ่งตามเกรดและองค์ประกอบของยูเรเนียมในแร่ ซึ่งแร่ยูเรเนียมmuj สำคัญ ๆได้แก่ uraninite, pitchblende, coffinite, brannerite, davidite, autunite, carnotite, uranocircite, uranophane, sklodowskite สำหรับประเทศไทยมีแร่ที่มียูเรเนียมเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยในปริมาณ

ที่ไม่มากนัก ได้แก่ monazite ซึ่ง เป็นแร่พลอยได้ของการทำเหมืองแร่ดีบุก และการแต่งแร่จากทรายชายหาดในภาคใต้ของประเทศ โดยมี ยูเรเนียมเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ 0. 2 – 0.5%

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้แบ่งแร่ยูเรเนียมตาม ลักษณะของการเกิดเป็นแหล่งแร่ได้ประมาณ 15 ลักษณะ เช่น unconformity-related deposits , sandstone deposits, quartz-pebble conglomerate deposits, hematite breccia complex deposits

ปัจจุบันประเทศที่เป็นแหล่งผลิตแร่ยูเรเนียมที่สำคัญ ๆ ของโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย คาซัคสถาน นามิเบีย ในปี 2551 ปริมาณยูเรเนียมที่ผลิตจากเหมืองต่าง ๆ ทั่วโลกมีประมาณ 44,000 ตัน

แหล่งข้อมูล เอกสารการสัมมนา Nuclear Fuel Cycle 2009

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบ

Only administrators can add new users.

เข้าสู่ระบบ